8.8.64

กฐินวัดลักษณาราม

 กฐินวัดลักษณาราม 24 ตุลาคม 2564


9.7.64

25.11.62

เสด็จประพาสต้น รัชกาลที่๕

๒๒กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จทอดพระเนตรวัดพวงมาลัย อำเภอเมือง สมุทรสงครามประพาสตลาดคลองอัมพวา วัดดาวดึงส์ บ้านกำนันจัน อำเภออัมพวาแล้วเสด็จกลับที่ประทับแรมเมืองสมุทรสงครามผ่านทางคลองแม่กลอง

๒๓กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จที่ว่าการเมืองสมุทรสงคราม และวัดอัมพวันเจติยาราม อำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม

๒๔กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จลงเรือฉลอม ประพาสละมุบริเวณปากอ่าวแม่กลองแล้วเสด็จออกจากปากน้ำแม่กลองเข้าสู่ปากน้ำบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีเสด็จลงเรือไฟศรีอยุธยาแล่นไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ประทับบ้านพระยาสุรพันธ์

๒๕กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จประพาสทางเรือข้างเหนือน้ำ

๒๖กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จทางเรือประพาสบางทะลุ ประทับแรมที่บางทะลุ จังหวัดเพชรบุรี

๒๗กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จโดยเรือฉลอมจากบางทะลุออกทะเลมาเข้าบ้านแหลมกลับสู่เมืองเพชรบุรี

๒๘กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จประพาสพระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี

๒๙กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จประพาสวัดต่าง ๆ ในเมืองเพชรบุรีแล้วเสด็จโดยกระบวนเรือใหญ่ล่องไปประทับแรมที่บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

๓๐กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จโดยเรือเป็ดทะเลออกจากปากน้ำบ้านแหลม ผ่านปากน้ำแม่กลองบ้านโรงกุ้ง ถึงท่าจีน ประพาสตลาดท่าฉลอม เสวยพระกระยาหารค่ำที่วัดโกรกกรากอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร



2.9.62

ลูกโกฐเมืองเพชร

ลูกโกฐเมืองเพชร
ลูกโกฐเมืองเพชร เป็นสิ่งที่ชาวเมืองเพชรบุรีได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายชั่วคนแล้ว จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของเมืองเพชรบุรี
แต่เดิมลูกโกฐเมืองเพชรจะใช้ในงานพิธีศพสำหรับชนชั้นเจ้านายหรือในราชตระกูล เท่านั้น แต่ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชทานอนุญาตให้สามัญชนโดยทั่วไปจัดพิธีนี้ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสืบทอดฝีมือเชิงช่างของช่างเมืองเพชรบุรีไว้ เพราะในการประดิษฐ์ลูกโกฐนั้นจะต้องใช้ช่างที่มีฝีมือหลายแขนง เช่น ช่างไม้ในการก่อแบบ ย่อมุมของโครงไม้ ช่างตอกลาย ฉลุลายในการประดับลวดลาย หรือช่างเขียนภาพ เช่น ภาพแสดงปริศนาธรรม ภาพแสดงสุภาษิต ภาพชาดก ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานที่ละเอียดและมีความประณีตยิ่ง
  • พิธีกรรม
การลงโกฐ ที่เพชรบุรีมักใช้โกฐกลมมากกว่าโกศเหลี่ยม โกฐกลมส่วนใหญ่ยอดโกฐและฐานจะเป็นแบบย่อเหลี่ยม การนำศพใส่ในโกฐเริ่มต้นด้วยพิธีเปลื้องสุกำ หรือพิธีสุกำศพ คือต้องนำศพไปต้มรูดเอาเนื้อไปเผาเสียก่อนให้เหลือแต่กระดูกแล้วจึงนำมาใส่ ในลูกโกฐ แต่เดิมบางครั้งก็รูดเนื้อทั้งน้ำให้เป็นเหยื่อปูปลา หรือเถือเนื้อออกไปเผาต่างหาก แล้วนำเฉพาะกระดูกไปทำพิธีลงโกฐ ซึ่งจะต้องมีพิธีฉลอง เช่น มีโขนรำหน้าศพ มีปี่พาทย์ประโคม เมื่อเผาเสร็จแล้วก็จะมีมหรสพฉลอง เช่น หนังตะลุง หุ่นกระบอก ละครชาตรี โขน ละครไทย เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าภาพงาน ส่วนพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น การบวชหน้าไฟ หรือการสวดทำบุญก่อนและหลังงานเผาศพ การทำพิธี ๓ หาบ รดน้ำมนต์กระดูกหลังวันเผานั้นก็มีเช่นเดียวกับประเพณีเผาศพของภาคกลางเช่นกัน

20.9.59

เหรียญหลวงพ่อรั้ว วัดลักษณาราม รุ่น๑

คณะศิษยานุศิษย์ พระครูพัชรกิจจานุกูล (หลวงพ่อรั้ว)
พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองเพชรบุรี เจ้าอาวาสวัดลักษณาราม
 อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี จัดสร้างเหรียญที่ระลึกฉลองอายุวัฒนมงคล 84 ปี จัดสร้างทั้งหมด 4 เนื้อ
 เหรียญเนื้อทองคำ (ตามจอง), เหรียญเงินลงยา (ตามจอง), เนื้อทองแดงรมดำ 2,000 เหรียญ และเหรียญทองแดงมันปู 2,500 เหรียญ
 ผู้สนใจเช่าบูชา ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่วัดลักษณาราม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
 โทร.08-1736-0453 หรือ 08-1852-0686.....(ข่าวจากชมรมพระเมืองเพชร)

28.4.52

แม่สะเรียง-บ้านแหลม.

แม่สะเรียง-บ้านแหลม ขุนเขาสู่ทะเล ผู้เขียน ในฐานะหลานเจ้าอาวาส (พระครูพัชรกิจจานุกูล)ได้มีโอกาสนำน้ำผึ้งธรรมชาติ จากแม่สะเรียง ไปผสมกาแฟ เลี้ยงรับรองแขก ที่มาใน การพระราชทานเพลิงศพ พระครูวิบูลวชิรสาร อดีตเจ้าอาวาสวัดลักษณาราม บ้านแหลม เพชรบุรี ออกเดินทาง วันที่ 18 เมษายน 2552 ราวตีสี่ ใช้เส้นทาง แม่สะเรียง -ออบหลวง-ฮอด-ลี้-เถิน-ตาก-กำแพงเพฃร-นครสวรรค์-อ่างทอง-อยุธยา-บางปะอิน-ขื้นทางด่วนไปลงดาวคะนอง แวะเยี่ยมแม่กลิ่น สังข์ลาโพธิ์ ซี่งเป็นพี่สาวเจ้าอาวาส ที่บางขุนเทียน-สมุทรสาคร-สมุทรสงคราม เข้าคลองโคน-เขายี่สาร-บางตะบูน-บ้านแหลม ระยะทาง900กว่ากิโลเมตร ใช้เวลา15ชั่วโมง ถึงบ้านแหลมราว18।00น।ระหว่างงานผู้เขียนได้เห็นการรวมพลังสามัคคีของศิษยานุศิษย์ ชาวบ้านหน่วยงานทุกหน่วยงานที่ร่วมประสานสัมพันธ์ เพื่อให้การเตรียมการทั่งฝ่ายพิธีการและการดำเนินงานได้ลุล่วงโดยมิได้ขัดข้อง แม้จะมีพายุฝน ก่อนการเสด็จพระราชดำเนินก็มิได้เป็นอุปสรรค ความเข้มแข็งของคณะแม่ครัวที่สามารถจัดหาอาหารรับรองคณะทำงานและผู้ที่มาร่วมงานได้อย่างน่าชมเชยอย่างยิ่ง รวมทั้งฝ่ายเครื่องดึ่ม-กาแฟ ก็มิได้ขาดตกบกพร่องเช่นกัน นับว่าการการที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ พระครูวิบูลวชิรสาร (ทุเรียน ฐิติสาโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดลักษณารามและอดีตเจ้าคณะตำบลบ้านแหลม ณ เมรุวัดลักษณาราม ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี วันอังคารที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๑๕๕๑ เป็นที่ประจักถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อ ต่อชาวบ้านแหลม เพชรบุรี ตลอดไป เว็ปไซต์นี้นอกจากการนำเสนอข้อมูลต่างๆของวัดลักษณารามแล้ว ยังเป็นที่ติดต่อส่งข่าวของศิษย์วัดลักษณาราม หรือคนบ้านแหลมที่ประกอบอาชีพอยู่ต่างท้องถิ่นได้ส่งข่าวหรือข้อเขียนต่างๆสำหรับท่านที่มีความสนใจเกี่ยวกับวัดวาอาราม ทางภาคเหนือ ดูได้จากเว็ปลิ้งค์ ที่มีอยู่ จะเห็นความแตกต่างของศิลปวัฒนธรรมล้านนากับศิลปเมืองเพชร โดยผู้เขียนได้จัดทำเว็ปไซต์ให้กับวัดหลายวัดเพื่อส่งเสริมการทำบุญไหว้พระและการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ขอบคุณเพื่อนที่เรียนบ้านแหลมด้วยกันเมื่อเกือบ40ปีที่แล้วได้ให้การต้อนรับและช่วยเหลือเป็นอย่างดี โดยเฉพาะ พระครูพัชรกิจจานุกูล เจ้าอาวาสวัดลักษณารามหลวงน้าหรือ คุณกู๋รั้ว ของผู้เขียน บันทึกไว้โดย สุพจน์ สังข์ลาโพธิ์ บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียงติดตามเรื่องราวต่างๆของบ้านแหลมได้ที่นี่

23.3.52

การพระราชทานเพลิงศพ พระครูวิบูลวชิรสาร (ทุเรียน ฐิติสาโร)







สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ พระครูวิบูลวชิรสาร (ทุเรียน ฐิติสาโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดลักษณาราม และเจ้าคณะตำบลบ้านแหลม ณ เมรุวัดลักษณาราม ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี วันอังคาร ที่ 21เมษายน พ.ศ2552